การกำกับดูแลกิจการที่ดี

การบริหารจัดการที่ส่งเสริมให้องค์กรมีการกำกับดูแลที่ดี


              คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การสุราฯ และผู้บริหารองค์การสุราฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงเห็นว่าการบริหารจัดการที่ดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการกำกับดูแลให้การดำเนินงานในแต่ละด้านให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล มีการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลที่เข้ามาช่วยในการสร้างระบบการบริหารจัดการข้อมูลทั้งองค์กร ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ต้องพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลให้มีศักยภาพที่เหมาะสมกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและสามารถปฏิบัติงานในองค์กรได้ในระยะยาว เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น นอกจากนี้องค์การสุราฯ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองควบคู่ไปกับชุมชน จึงมีนโยบายรับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มเห็นว่าการพัฒนาองค์การสุราฯ จะเติบโตควบคู่ไปกับชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต

รายงานผลการดำเนินงานกำกับดูแลที่ดีฯ ประจำปีงบประมาณ 2565

รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ประจำปี 2565 ไตรมาสที่ 3

รายงานผลการดำเนินงานกำกับดูแลที่ดีฯ ประจำปี 2565 ไตรมาสที่ 3

รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ประจำปี 2565 ไตรมาสที่ 2

รายงานผลการดำเนินงานกำกับดูแลที่ดีฯ ประจำปี 2565 ไตรมาสที่ 2

รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ประจำปี 2565 ไตรมาสที่ 1

รายงานผลการดำเนินงานกำกับดูแลที่ดีฯ ประจำปี 2565 ไตรมาสที่ 1

คณะอนุกรรมการประเมินผลผู้อำนวยการ

คณะอนุกรรมการงบลงทุน

คณะกรรมการตรวจสอบองค์การสุรา

คณะอนุกรรมการด้านการจัดการเทคโนโลยี

คณะอนุกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

คณะอนุกรรมการนโยบาย

คณะอนุกรรมกำกับดูแลกิจการที่ดี

คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและสัญญา

คำสั่งแต่งตั้งหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ

กฎบัตรหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ

กฏบัตรคณะอนุกรรมการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร ประจำปี 2564

กฎบัตร คณะอนุกรรมการกํากับดูแลที่ดีและการนําองค์กร 2563

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฏระเบียบ (GRC)

คณะอนุกรรมการมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้


              1. จัดทำกฎบัตรการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ (Corporate Social Responsibility in Process (CSR in Process) การบริหารจัดการนวัตกรรม และการพัฒนาความยั่งยืน
              2. จัดให้มีระบบการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กรที่เพียงพอ ระบบการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ (CSR in Process) ที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ตาม ISO 26000 รวมทั้งระบบการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก่อให้เกิดการบูรณาการเข้ากับการกำกับดูแลขององค์กร กลยุทธ์ และการบริหารจัดการในทุกระดับ
              3. จัดให้มีการวิเคราะห์ ศึกษา และการเรียนรู้ ความยั่งยืนจากการพัฒนาและนวัตกรรมกระบวนการ ระบบการบริหารจัดการ การเรียนรู้ถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลูกค้า ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
              4. จัดให้มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามแนวทางสากลอย่างเป็นมาตรฐานสากล เช่น Global Reporting Initiative (GRI) เป็นต้นเพื่อทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมโดยรวมรับรู้ และมีส่วนร่วมสนับสนุนการพัฒนาความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจ
              5. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การสุราฯ ทุกไตรมาส

โครงสร้างการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร


แนวทางปฏิบัติที่ดีของผู้บริหารและพนักงาน


              องค์การสุราฯ มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีโดยมีการจัดทำคู่มือพนักงาน เพื่อให้ผู้บริหารและ พนักงานได้รับทราบถึงระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำคู่มือมาตรฐานจริยธรรม จรรยาบรรณเพื่อให้การบริหารจัดการภายในองค์กรเป็นไปตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งองค์การสุราฯ ได้นำค่านิยมหลัก (Core Value) ของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมอื งและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การสุราฯ โดยยึดมั่นถือมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมอันดี และถือปฏิบัติอย่าง ต่อเนื่องจนสืบทอดเป็นวัฒนธรรมองค์กร

แผนแม่บทการกำกับดูแลที่ดี ปี 2565-2569

แผนปฏิบัติการกำกับดูแลที่ดี ปี 2565

คู่มือการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร ประจำปี 2565

คู่มือการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน

แผนการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร 2564

แนวทางปฏิบัติหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ(Compliance Unit)

แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารฯ

มาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณ



ค่านิยมหลัก 9 ประการ อันเป็นมาตรฐานทางจริยธรรม มีดังนี้

1. การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
2. การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
3. การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
4. การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
5. การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัยและไม่เลือกปฏิบัติ
6. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
7. การม่งุ ผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
8. การยึดม่นั ในระบอบประชาธิปไตยอันมพี ระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
9. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร

คู่มือจริยธรรมและจรรยาบรรณการดําเนินธุรกิจขององค์การสุราฯ ฉบับทบทวนประจําปี 2566

คู่มือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจขององค์การสุรา ปี 2564

เจตจำนงสุจริตในการบริหารงานขององค์การสุราฯ (ภาษาอังกฤษ)

เจตจำนงสุจริตในการบริหารงานขององค์การสุราฯ (ภาษาไทย)