การบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน

การบริหารความเสี่ยง

              องค์การสุราฯ ตระหนักว่าการบริหารความเสี่ยงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจาก ระบบบริหารความเสี่ยงที่มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจะ นำองค์กรไปสู่ความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน จึงได้ปรับปรุงกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์การสุราฯ ให้ เป็นไปตามมาตรฐานในระดับสากล โดยอาศัยกรอบการบริหารความเสี่ยงของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission หรือ COSO รวมทั้งมีการบูรณาการ เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ ภารกิจและยุทธศาสตร์ขององค์การสุราฯ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหาร จดั การให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์การสุรา กรมสรรพสามิต

              องค์การสุราฯ มีโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงองค์กร เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงในแต่ละระดับ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่รับผิดชอบ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง คณะทำงานจัดวางระบบบริหารความเสี่ยง และคณะทำงานเพื่อการสนับสนุนระบบการบริหาร ความเสี่ยง

นโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร

              องค์การสุรา กรมสรรพสามิต มุ่งมั่นที่จะจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงขององค์กรที่ดี ตามมาตรฐานในระดับสากล อันจะสร้างความเจริญเติบโตและมูลค่าเพิ่มแก่องค์กรอย่างยั่งยืน ดังนี้
1. เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงานทุกคนในการบริหารความเสี่ยง
2. กำหนดแนวคิด วิธีปฏิบัติของแนวทางบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติ การองค์กร
3. บูรณาการระบบการบริหารความเสี่ยงให้เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงและ สอดรับกัน
4. ติดตามและประเมิน ผลการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานการณที่ปลี่ยนแปลงไป
5. ปลูกฝังให้การบริหารความเสี่ยงเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่นำไปสู่การสร้างสรรค์มูลค่า ให้กับการปฏิบัติงานขององค์การสุราฯ

นโยบาย GRC

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (GRC) ประจำปี 2566

การบริหารความเสี่ยง

กฎบัตรความเสี่ยง ประจำปี 2566

ประเภทของการบริหารความเสี่ยง

องค์การสุราฯ แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 4 ประเภท ตามกรอบการบริหารความเสี่ยงของ COSO ดังนี้

  1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risks : S)
  2. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risks : O)
  3. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risks : F)
  4. ความเสี่ยงด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance Risks : C)

1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risks : S) เป็นความเสี่ยงที่มีเหตุแห่งความเสี่ยง มาจากการกำหนดกลยุทธ์ การนำไปปฏิบัติไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก และ ผลการดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ไม่บรรลุตามเป้าหมายขององค์กร อันจะส่งผลกระทบต่อรายได้หรือการ ดำรงอยู่ขององค์การสุราฯ
2) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risks : O) เป็นความเสี่ยงที่มีเหตุ แห่งความ เสี่ยงมาจากการดำเนินงานอันเนื่องมาจากบุคลากร กระบวนการทำงาน เครื่องมือ เครื่องจักร ระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ขาดประสิทธภิ าพ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายนอก ที่อาจทำให้งานองค์การ สุราฯ สะดุดหยุดลง 3) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risks : F) เป็นความเสี่ยงที่มีเหตุแห่งความ เสี่ยงมาจากการจัดการด้านการเงิน การบัญชี การงบประมาณ และการลงทุน ที่อาจจะส่งผลกระทบทำให้ เกิดความเสียหายต่อกำไรจากการดำเนินงาน ผลตอบแทนจากการลงทนุ และการสร้างมูลค่าเพิ่มไม่ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ตลอดจนความเสียหายทางด้านความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินและ ชื่อเสียงขององค์การสุราฯ
4) ความเสี่ยงด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance Risks : C) เป็นความ เสี่ยงที่มีเหตุแห่งความเสี่ยงมาจาก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย และข้อกำหนดอื่นใดในการดำเนินงาน ที่ส่งผลกระทบในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์การสุราฯ

คู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน

คู่มือการควบคุมภายใน 2566

คู่มือการบริหารความเสี่ยง 2566

คู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ประจำปี 2565

การควบคุมภายใน

              คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การสุราฯ และฝ่ายบริหาร ตระหนักในความสำคัญของ ระบบการควบคุมภายใน จึงประกาศนโยบายในการบริหารการควบคุมภายในเพื่อให้มีความมั่นใจอย่าง สมเหตุสมผล ว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ คือมีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รายงานทางการเงินถูกต้อง เชื่อถือได้และทันเวลา รวมทั้งมีการ ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

              องค์การสุราฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้ากองจากทกุ หน่วยงานเพื่อทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันให้ระบบการควบคุมภายในที่กำหนดได้มีการนำไปปฏิบัติอย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีการประชุมร่วมกันเป็นประจำอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงขององค์กรหรือของแต่ละหน่วยงานมาช่วยกันระดมสมองที่จะสร้างระบบการ ควบคุมภายใน กำหนดกิจกรรมเป็นวิธีการต่าง ๆ เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงเหล่านั้นลงให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้แล้วสื่อสารให้พนักงานได้รับทราบเพื่อนำไปปฏิบัติ และมีการติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ