24 พฤศจิกายน 2560
เปิดอ่าน
290
แอลกอฮอล์มีหลายชนิด หลายรูปแบบ ตามน้ำหนักของโมเลกุลที่ประกอบขึ้นมา เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ เมทิลแอลกอฮอล์ บิวทิลแอลกอฮอล์ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ เป็นต้น ดังนั้นการเลือกใช้แอลกอฮอล์ต้องดูวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้และความเหมาะสม หากใช้แอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ส่วนประกอบ ของอาหาร ยา เวชภัณฑ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกใช้่ เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) หรือ เอทานอล (ETHANOL) เพื่อความปลอดภัย
เอทิลแอลกอฮอล์กับเมทิลแอลกอฮอล์
ชื่อ “แอลกอฮอล” (Alcohol) นี้น่าจะเป็นที่คุ้นเคยมาก น่าจะมาความรู้จักถึงคุณและโทษของมัน เพราะ “ความไม่รู้” นี่เองที่เป็นสาเหตุของอันตราย แอลกอฮอลเป็นชื่อเรียกกลุ่มสารกลุ่มหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ที่รู้จักกันมากที่สุดคือ “เมทานอล” (Methanol) และ “เอทานอล” (Ethanol) หรือที่เรียกกันว่า “เอทิล แอลกอฮอล” (Ethyl) และ “เมทิล แอลกอฮอล” (Methyl) ตามลำดับ
สารทั้ง 2 สามารถละลายในน้ำได้ดีเหมือนกัน ละลายไขมันได้ มีที่ใช้ต่างกันแต่อาจจะใช้แทนกันได้ในบางกรณี ขณะที่บางกรณีถ้าใช้แทนกันจะเกิดอันตรายถึงตายได้ ดังเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า เวลาเราพูดถึงแอลกอฮอลมักจะนึกถึงเหล้า แอลกอฮอลในเหล้าคือเอทานอลซึ่งเป็นตัวเดียวกับแอลกอฮอลล้างแผล และแอลกอฮอลในของหมักดองต่าง ๆ ถ้าต้องการซื้อเอทานอลก็ไปที่ร้านขายยา ส่วนเมทานอลนั้นใช้เป็นตัวทำละลาย เช่นใช้ผสมในทินเนอร์ ดังนั้นถ้าจะซื้อเมทานอลก็จะได้จากร้านขายวัสดุก่อสร้าง ลักษณะการใช้งานเพื่อเป็นตัวทำละลายจึงใช้แทนกันได้
สารทั้งสองจะมีอะไรหลาย ๆ อย่างคล้ายกัน แต่ความเป็นพิษต่อร่างกายต่างกันมาก โรคพิษสุราเรื้อรังและตับอักเสบ เป็นอาการพิษของผู้เสพสุราเป็นระยะเวลานาน นั่นคืออาการพิษเรื้อรังที่เกิดจากเอทานอล แต่พิษเฉียบพลันที่เกิดจากการกินเข้าไปมาก ๆ ในครั้งเดียวก็คืออาการเมานั่นเอง แต่สำหรับเมทานอลพิษจะรุนแรงกว่า ผู้ป่วยอาจถึงขั้นตาบอดและตายได้ถ้าดื่มเข้าไป ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีการหามผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพราะไปกินเหล้าที่เติมเมทานอลลงไป ซึ่งส่วนมากเกิดในงานเลี้ยง บางงานเจ้าภาพต้มเหล้าเถื่อนเองและต้องการจะเพิ่มดีกรีของเหล้าให้แรงสะใจโดยวิธีลัด การหมักจะเกิดเอทานอลขึ้นตามธรรมชาติ คนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์จะเติมแอลกอฮอลเพื่อเพิ่มความแรงของเหล้าให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจริง ๆ ไม่ควรทำอยู่แล้ว ซ้ำร้ายนึกว่าเติมเอทานอลแต่จริง ๆ ไปได้เมทานอลมาจากร้าน เพราะเวลาซื้อบอกแต่ว่าขอซื้อแอลกอฮอล คนขายมีตัวไหนก็หยิบตัวนั้น ถ้าบังเอิญไปถามหาร้านที่ขายส่งสิ่งก่อสร้างก็จะได้เมทานอลมา
ดังนั้นถ้าเรามีความรู้สักนิดว่าแอลกอฮอลหมายถึงอะไร ? เจาะจงตัวไหน ก็จะไม่เกิดโศกนาฏกรรมเช่นนี้ อย่างไรก็ตามการผสมเหล้าด้วยการเติมแอลกอฮอลก็ไม่สมควรอยู่แล้ว กรณีนี้จะเห็นได้ว่า “ชื่อนั้นสำคัญไฉน” ไม่ได้ เพราะผลของมันต่างกันไกลทีเดียว
ที่มา: รศ.สุชาตา ชินะจิตร http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=31
เอทิลแอลกอฮอล์กับไอโซโพรพิวแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดนี้ ต่างมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อจุลิทรีย์ สามารถสรุปความแตกต่างกันได้ดังนี้
ข้อมูล |
เอทิลแอลกอฮอล์ |
ไอโซโพรพิลแอลกฮอล์ |
6 กันยายน 2565
...
6 กันยายน 2565
...
6 กันยายน 2565
...
...
24 พฤษภาคม 2565
ฝีดาษลิง การแพร่เชื้อจากคนสู่คน แม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดได้จากการสัมผัสและใกลัชิดผ่านทางสารคัดหลั่ง...
17 พฤศจิกายน 2564
แอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือหลายๆ คนกำลังเข้าใจว่า “ยิ่งแอลกอฮอล์ดีกรีสูง” ยิ่งฆ่าเชื้อโรคได้...
6 ตุลาคม 2564
ผู้สูงวัย ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษในช่วงโควิด เพราะหากติดเชื้อก็อาจมีอาการรุนแรง และเสี่ยงเสียชีวิตได้มากกว่าวัยอื่นๆ เพราะฉะนั้นมาดูแลตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อให้สามารถผ่านช่วงเวลาวิกฤตนี้ไปด้วยกันได้อย่างปลอดภัย ตามคำแนะนำเหล่านี้เลยค่ะ...
30 กันยายน 2564
How to รอด?? จ่ายตลาดปลอดภัย ช้อปได้ ไม่เสี่ยงโควิด...