การบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน

การบริหารความเสี่ยง

              องค์การสุราฯ ตระหนักว่าการบริหารความเสี่ยงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจาก ระบบบริหารความเสี่ยงที่มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจะ นำองค์กรไปสู่ความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน จึงได้ปรับปรุงกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์การสุราฯ ให้ เป็นไปตามมาตรฐานในระดับสากล โดยอาศัยกรอบการบริหารความเสี่ยงของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission หรือ COSO รวมทั้งมีการบูรณาการ เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ ภารกิจและยุทธศาสตร์ขององค์การสุราฯ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหาร จดั การให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์การสุรา กรมสรรพสามิต

              องค์การสุราฯ มีโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงองค์กร เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงในแต่ละระดับ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่รับผิดชอบ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง คณะทำงานจัดวางระบบบริหารความเสี่ยง และคณะทำงานเพื่อการสนับสนุนระบบการบริหาร ความเสี่ยง

นโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร

              องค์การสุรา กรมสรรพสามติ มุ่งมั่นที่จะะจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงขององค์กรที่ดี ตามมาตรฐานในระดับสากล อันจะสร้างความเจริญเติบโตและมูลค่าเพิ่มแก่องค์กรอย่างยั่งยืน ดังนี้
1. เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงานทุกคนในการบริหารความเสี่ยง
2. กำหนดแนวคิด วิธีปฏิบัติของแนวทางบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติ การองค์กร
3. บูรณาการระบบการบริหารความเสี่ยงให้เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงและ สอดรับกัน
4. ติดตามและประเมนิ ผลการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานการณที่ปลี่ยนแปลงไป
5. ปลูกฝังให้การบริหารความเสี่ยงเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่นำไปสู่การสร้างสรรค์มูลค่า ให้กับการปฏิบัติงานขององค์การสุราฯ

การบริหารความเสี่ยง

กฎบัตรความเสี่ยง ประจำปี 2561

ประเภทของการบริหารความเสี่ยง

องค์การสุราฯ แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 4 ประเภท ตามกรอบการบริหารความเสี่ยงของ COSO ดังนี้

  1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risks : S)
  2. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risks : O)
  3. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risks : F)
  4. ความเสี่ยงด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance Risks : C)

1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risks : S) เป็นความเสี่ยงที่มีเหตุแห่งความเสี่ยง มาจากการกำหนดกลยุทธ์ การนำไปปฏิบัติไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก และ ผลการดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ไม่บรรลุตามเป้าหมายขององค์กร อันจะส่งผลกระทบต่อรายได้หรือการ ดำรงอยู่ขององค์การสุราฯ
2) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risks : O) เป็นความเสี่ยงที่มีเหตุ แห่งความ เสี่ยงมาจากการดำเนินงานอันเนื่องมาจากบุคลากร กระบวนการทำงาน เครื่องมือ เครื่องจักร ระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ขาดประสิทธภิ าพ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายนอก ที่อาจทำให้งานองค์การ สุราฯ สะดุดหยุดลง 3) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risks : F) เป็นความเสี่ยงที่มีเหตุแห่งความ เสี่ยงมาจากการจัดการด้านการเงิน การบัญชี การงบประมาณ และการลงทุน ที่อาจจะส่งผลกระทบทำให้ เกิดความเสียหายต่อกำไรจากการดำเนินงาน ผลตอบแทนจากการลงทนุ และการสร้างมูลค่าเพิ่มไม่ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ตลอดจนความเสียหายทางด้านความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินและ ชื่อเสียงขององค์การสุราฯ
4) ความเสี่ยงด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance Risks : C) เป็นความ เสี่ยงที่มีเหตุแห่งความเสี่ยงมาจาก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย และข้อกำหนดอื่นใดในการดำเนินงาน ที่ส่งผลกระทบในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์การสุราฯ

คู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน

คู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ประจำปี 2564

คู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ประจำปี 2563

คู่มือการบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2562

คู่มือการบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2561

คู่มือการบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2560

คู่มือการบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2559

คู่มือการบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2558

คู่มือการบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2557

คู่มือการบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2556

คู่มือการบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2555

คู่มือการบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2554

การควบคุมภายใน

              คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การสุราฯ และฝ่ายบริหาร ตระหนักในความสำคัญของ ระบบการควบคุมภายใน จึงประกาศนโยบายในการบริหารการควบคุมภายในเพื่อให้มีความมั่นใจอย่าง สมเหตุสมผล ว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ คือมีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รายงานทางการเงินถูกต้อง เชื่อถือได้และทันเวลา รวมทั้งมีการ ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

              องค์การสุราฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้ากองจากทกุ หน่วยงานเพื่อทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันให้ระบบการควบคุมภายในที่กำหนดได้มีการนำไปปฏิบัติอย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีการประชุมร่วมกันเป็นประจำอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงขององค์กรหรือของแต่ละหน่วยงานมาช่วยกันระดมสมองที่จะสร้างระบบการ ควบคุมภายใน กำหนดกิจกรรมเป็นวิธีการต่าง ๆ เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงเหล่านั้นลงให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้แล้วสื่อสารให้พนักงานได้รับทราบเพื่อนำไปปฏิบัติ และมีการติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ